Blog Directory ดนตรีกับความเป็นไปได้ไม่สิ้นสุด | kmusic-blog: ดนตรีกับความเป็นไปได้ไม่สิ้นสุด

หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554

ดนตรีกับความเป็นไปได้ไม่สิ้นสุด

บล็อกดนตรี
ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่เคยถามตัวเองว่าทำไมดนตรีสมัยนี้มันเริ่มฟังดูเหมือนกันหมด หรือ ถ้าผมต้องแต่งเพลงขึ้นมาใหม่ในวันนี้ จะมีอ็อฟชั่นอะไรบ้างในการสร้างเมโลดี้ใหม่ๆ ให้ติดหูน่าฟัง และดังเปรี้ยงป้างได้ เพราะดูเหมือนโอกาสจะน้อยลงไปทุกที เนื่องจากมีการใช้เมโลดี้ และทางคอร์ดกันมานับสิบๆ ปีจนเริ่มจะซ้ำไปซ้ำมา จะหาอะไรใหม่ๆ ได้อีกเหรอ จะมีโอกาสในการสร้างดนตรีที่ไม่มีใครเคยได้ยินมาก่อนได้อีกเหรอ สิ่งผมกำลังจะเล่าให้ฟังน่าจะเป็นคำตอบที่ดีได้ ทุกวันนี้มีเมโลดี้หรือทางคอร์ดหรือแม้แต่คอร์ดอะไรอีกล่ะที่ยังไม่เคยเล่นมาก่อน นักกีต้าร์เจ็ดสาย จอร์จ แวนเอพส์ ได้เขียนหนังสือที่ชื่ีอว่า Harmonic Mechanisms for Guitar ฃึ่งได้ตีแผ่ความจริงขององค์ประกอบของคอร์ดที่มาจากโน็ตทั้ง 12 โน็ตว่าในการใช้หลักคณิตศาตร์ ที่จะพิสูจน์ว่ามีอะไรที่ยังไม่ทำมาแล้วบนกีต้าร์บ้าง ทีแรกผมก็ไม่คิดว่ามันจะมีอะไรเหลือให้ทำอีกมากนัก

แต่เค้าบอกว่า “ถ้าเราจะพยายามเล่นคอร์ดให้ครบทุกคอร์ดที่มีอยู่ ถึงต่อให้เราเล่นหนึ่งคอร์ดต่อหนึ่งวินาที จะต้องใช้เวลาทั้งหมด 11,000 ปี ถึงจะเล่นได้ครบทุกคอร์ดเท่าที่กีต้าร์จะทำได้” นี่ขนาดยังไม่ได้พูดถึงเรื่องของจังหวะอีก ลองนึกภาพดูว่าจะไปถึงอีกกี่ล้านปีถ้ารวมเอาความหลากหลายของการเล่นจังหวะของตัวโน็ต ขนาด riff เดียวกับความหลากหลายของจังหวะในหนึ่งห้อง ก็สามารถแตกออกไปเป็นพันๆ riff ใหม่ๆ ได้อีกมากมาย หลักความจริงนี้ทำให้เราสบายใจขึ้นว่าอย่างน้อยก็ยังมีที่ว่างเหลืออีกมากมายสำหรับเราที่จะทำสิ่งใหม่ๆ ลองอะไรที่ไม่เคยลองให้วงการเพลงและดนตรีทั้งหลายในบ้านเรา แค่เรามีจินตนาการและไม่หยุดที่จะทดลอง เราจะได้ยินอะไรใหม่ๆ ในวงการเพลงไทยอีกมากมาย

โดย อนุชา แซ่ลี้ (ลีวรกุล)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น